หลวงอนุสารสุนทรกิจ ช่างภาพเล่าเรื่องวิถีชีวิตอดีตเมืองเชียงใหม่

หลวงอนุสารสุนทรกิจ นามเดิม สุ่นฮี้ ชัวย่งเสง เกิดเมื่อ เดือน 12 ปีเถอะ ตรงกับเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2410 ณ บ้านทุ่งกู่ช้าง นครลำพูน มณฑลพายัพ ปัจจุจันคือ หมู่บ้านไก่แก้ว ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน เป็นบุตรคนที่ 4 ในจำนวนพี่น้อง 6 คน ของนายต้อย แซ่ฉั่ว กับ นางแว่น

จากการให้ข้อมูลจากคุณสมยศ นิมมานเหมินท์ คุณจุมพล ชุติมา และคุณเนห์  นิมมานเหมินท์ หลวงอนุสารสุนทร ท่านเป็นคนที่รักที่จะไฝ่รู้ไฝ่เรียน ชอบทดลอง ตอนอายุ 10 ขวบ ก็สามารถปลุกพืชผักสวนครัวไว้กินเองได้

ในช่วงอายุ 12 ปี มารดาของหลวงอนุสารสุนทรถึงแก่กรรม ช่วงระยะเวลาที่ท่านและพี่น้อง อยู่กับบิดาจึงเกิดแรงบันดาลใจชอบในการค้าขายมากขึ้น เพราะหลวงอนุสารสุนทรท่านได้พบกับหญิงชราคนหนึ่ง ซึ่งยากจนมากแบบที่เรียกว่าไม่มีอันจะกิน ต้องเทียวขอน้ำแกงเปล่าๆ จากชาวบ้าน เมื่อได้มาก็เอาข้าวเหนียวจิ้มกินจนอิ่ม ประทังชีวิตไปเป็นมื้อๆ แต่ทั้งๆ ที่ไม่มีอะไรจะกินขนาดนั้น หญิงชรายังมีจิตใจเอื้ออารี เรียกหลวงอนุสารสุนทรซึ่งยังเด็กอยู่ให้ไปกินด้วย ทำให้ท่านรู้สึกสลดใจในชีวิตของคนที่ยากจนค่นแค้นเป้นอย่างยิ่ง ท่านนำเรื่องนี้เป็นอุทาหรณ์สอนตัวเองให้นึกถึงความยากจนอยู่เสมอ และเกิดความมานะว่า จะทำอย่างไรให้ชีวิตถึงไม่ยากจนอย่างนั้น

ตั้งแต่นั้นมา ท่านพยายามฝึกหัดทำกิจกรรมงานทุกอย่างที่เห็นว่า จะทำได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ อันเป็นทางหนึ่งของการประหยัดอดออม จนอายุ ได้ 15 ปี นายต้อย บิดาได้อพยพมาอยู่ที่จังหวัดเชียงใหม่ ใกล้วัดเกต จึงได้เริ่มเปิดกิจการค้าขายเล็กๆ น้อยๆ ฝึกใช้ลูกคิด ฝึกยิงปืน เรียนภาษาไทยล้านนา ภาษาไทยกลางกับพระสงฆ์วัดปุปคุต

เมื่ออายุได้ 18 ปี บิดาถึงแก่กรรม พี่ชาย นายสุ่นปู้กับนายสุ่นโฮง ต่างแต่งงานและแยกครอบครัวออกไป หลวงอนุสารสุนทรต้องอยู่กับน้องชาย คือนายสุ่นฮวดละน้องสาวคือนางบุญปั๋นเพียงลำพัง ช่วยกันขยายกิจการ ค้าขาย สร้างเรือนไม้ด้วยฝีมือตนเองขึ้นหนึ่งหลัง โดยท่านประประกอบอาชีพเป็น ช่างซ่อมตะเกียงลาน ซ่อมนาฬิกา ซ่อมปืน รับแกะสลักไม้เป็นลวดลายต่างๆ และเป็นช่างภาพ

เส้นทางการเป็นช่างภาพของหลวงอนุสารสุนทรนั้น ได้เริ่มเรียนวิชามาจาก พระยาเจริญราชไมตรี (จำนง อมาตยกุล) อธิบดีผู้พิพากษา ศาลมงฑลพายัพ ในอดีต โดยหลวงอนุสารสุนทรนั้นได้เริ่มจากการไปเป็นผู้ช่วยช่างภาพและได้เรียนรู้การถ่ายภาพจากตรงนั้น การถ่ายภาพของหลวงอนุสารสุนทร นั้นในอตีดนั้นกล้องที่เข้ามาคือกล้องถ่ายภาพพิมล์กระจก หลวงอนุสารสุนทรนั้นทำการค้าขายทางเรือ เชียงใหม่ – กรุงเทพ มากกว่า 50 ครั้ง โดย 1 ครั้งใช้เวลา 2-3 เดือน ในการเดินทางและยังทำการค้าขายกับทาง เชียงใหม่ – มะละแหม่ง โดยเดินทางทางเรือไปยัง เมื่อตาก หลังจากนั้นเดินทางเท้า โดยใช้ ม้า เกวียน ล้อ ไปยัง มะละแหม่ง เพราะ เป็นท่าเรือน้ำลึกที่ใกล้กับเชียงใหม่มากที่สุด ทำให้มีโอกาศในการเข้าถึงเทคโนโลยีจาก ตะวันตกจากการทำการค้าขาย

หลวงอนุสารสุนทรได้ทำกิจการรับถ่ายภาพ ได้มีโอกาสในการถ่ายรูปทั้ง พระบรมวงศานุวงศ์ เจ้าเมือง ข้าราชการและคนทั่วไป แต่การจะเข้าถึง ถาพถ่ายนั้น ต้องอาศัยปัจจัยหลากหลายมาก ซึ่งในขณะนั้น ก๋วยเตี๋ยว 2 ชาม ราคา 1 สตางค์ ราคารับถ่ายภาพ คือ 50 สตางค์ ซื้อถือว่าแพงมาก

การถ่ายภาพของหลวงอนุสารสุนทร มีการถ่ายแบบพอตเทรต โดยมีสตูดิโอเป็นของตัวเอง การถ่ายภาพในสตูดิโอนั้น มักมีอุปกรณ์ประกอบฉาก เพื่อเป็นการสื่อความหมายเช่นการยืนกับเก้าอี้และมีแหวนที่มือ นาฬิกา กระติกน้ำชา ร่ม ถ้วยน้ำชา กระถางดอกไม้และผ้าปูโต๊ะที่สวยงาม เพื่อเป็นการบ่งบอกถึงความมีถานะทางสังคม ยังมีกล่องหนังสือเพื่อบ่งบอกถึงเป็นคนมีความรู้ มีการศึกษา และมีภาพถ่าย วิถีชีวิตของคนเมืองเชียงใหม่ กิจกรรม การค้าขาย หลวงอนุสารสุนทร ถือว่าเป็นผู้ที่ได้บันทึกภาพเหตุการต่างๆในประวัติศาสตร์ ของเมืองเชียงใหม่ ขั้นตอนการถ่ายภาพกระจก ต้องเริ่มจากการเตรียมฟิล์มก่อน หลวงอนุสารสุนทรสามารถถ่ายภาพได้ 5 ภาพ ต่อ 1 วัน และใช้เวลาทำฟิล์มออกมาเป็นภาพถ่ายเป็นเวลา 2 เดือน จากการที่บันทึกภาพไว้มากมาย ทำให้นักวิชาการ นักเรียน นักศึกษาในปัจจุบันได้มีโอกาสนำภาพเหล่านั้นมาศึกษาเป็นองค์ความรู้ในการถ่ายภาพ

 

เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์ artsvisual.co | กันยายน 2562

Contributors

พีรศิษฐ์ วงค์อ้าย

Creative Director แห่ง Behind The Scene และ Behind The House

บีซัน ตัน

ช่างภาพหุ่นหมี อารมณ์ดี มุกแป๊ก ปัจจุบันเป็นวิดีโอครีเอเตอร์ที่เว็บไซต์ท่องเที่ยวแห่งหนึ่ง