Food, Inc. ภาพสะท้อนความเลวร้ายและล้าหลังของอุตสาหกรรมอาหารในอเมริกา

นับตั้งแต่ยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมเป็นต้นมานั้น ใครเป็นผู้ได้รับผลประโยชน์ที่สุดจากการเกษตร

Food, Inc.​ คือสารคดีที่พาเราไปสํารวจ ‘ต้นทุนที่มองไม่เห็น’ ของอุตสาหกรรมอาหารในอเมริกาอย่างใกล้ชิดทุกแง่มุมผ่านการถ่าย-และแอบถ่ายโรงเลี้ยงไก่ โรงเลี้ยงวัว โรงฆ่าหมู โรงฆ่าวัว และบทสัมภาษณ์จากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียแทบทุกฝ่าย

ไม่ว่าจะเป็นเกษตรกรรายย่อย นักรณรงค์มาตรฐานความปลอดภัยในอาหาร นักเขียนหนังสือขายดีเกี่ยวกับอาหาร และซีอีโอบริษัทอาหารออร์แกนิก น่าเสียดายที่สารคดีเรื่องนี้ขาดมุมมองของผู้บริหารบริษัทอาหารยักษ์ใหญ่ที่ ถูกเปิดโปง ไม่ว่าจะเป็น เพอร์ดู ไทสัน หรือมอน ซานโต เนื่องจากผู้บริหารบริษัทเหล่านี้ไม่ยอมให้สัมภาษณ์

สารคดีเรื่องนี้ตั้งต้นจากปัญหาใหญ่ด้านสุขภาพของคนอเมริกัน คือโรคอ้วนและโรคที่เกี่ยวข้องกับความอ้วนเช่น โรคเบาหวานและโรคหัวใจ ด้วยความที่อาหารแคลอรีสูงและอาหารรสหวานจัดเป็นอาหารที่ถูกที่สุดในอเมริกา ประกอบกับวิถีชีวิตติดทีวี ติด อินเทอร์เน็ต จนไม่ออกกําลังกาย ทําให้ปัจจุบันเด็กอเมริกันกว่า 1 ใน 3 เป็นโรคอ้วน อัตราส่วนนี้สูงถึง 1 ใน 2 ในเด็กชนกลุ่ม น้อย ซึ่งมักจะทํางานหาเช้ากินคํ่าและมีรายได้น้อยที่สุดในสังคม

พวกเขาไม่มีเงินจ่ายค่ารักษาพยาบาลเวลาป่วยเป็น ‘โรคคนรวย’ ที่ค่ารักษาแพงมากอย่างโรคเบาหวาน ในเมื่ออาหารฟาสต์ฟู้ดมีราคาถูกกว่าอาหารสดและอาหารสุขภาพมาก แถมยังไม่ต้องนํากลับไปปรุงเองที่บ้าน ผู้บริโภครายได้น้อยย่อมมีแรงจูงใจที่จะซื้ออาหารฟาสต์ฟู้ดมากกว่า ซึ่งปัญหาใหญ่ที่ Food, Inc. ชี้ให้เห็นคือ ราคาอาหารที่ถูกมากไม่ได้เกิดจากความสามารถในการประหยัดจากขนาด (Economies of Scale) ของบริษัท อาหารและความต้องการของผู้บริโภคเป็นหลัก แต่เกิดจากนโยบายอุดหนุนให้เกษตรกรปลูกข้าวโพดที่ดําเนินมานาน หลายทศวรรษ อาหารเหล่านี้เป็นอันตรายต่อสุขภาพมากกว่าที่ผู้บริโภครับรู้ และบริษัทอาหารไม่ได้ปฏิบัติต่อลูกจ้างและเกษตรกรรายย่อยอย่างเป็นธรรม

Food, Inc.​ ไม่ได้เปิดโปงแต่ปัญหาเท่านั้น แต่ยังนําเสนอทางออกและแนวโน้มที่นาลุ้นว่าอาจกลายเป็นกระแสหลักได้ใน อนาคตนั่นคือ วงการเกษตรอินทรีย์และอาหารออร์แกนิกที่กําลังเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วตามกระแสความใส่ใจสุขภาพของผู้ บริโภคยุคใหม่ ทําให้ร้านค้าปลีกขนาดใหญ่อย่าง Walmart เริ่มเปิดแผนกอาหารออร์แกนิกแล้ว

อย่างไรก็ตาม อาหารออร์แกนิกยังมีราคาสูงกว่าอาหารทั่วไปมาก ผู้เชี่ยวชาญหลายคนในภาพยนตร์สารคดีเรื่องนี้จึงยํ้าว่า ภาครัฐจําต้องเปลี่ยนนโยบาย ระดับชาติเพื่อให้ประโยชน์ตกถึงผู้มีรายได้น้อย ด้วยการเลิกอุดหนุนการปลูกข้าวโพดและอาหารคุณภาพตํ่าทั้งหลาย รวมถึงหันมาอุดหนุนอาหารที่มีคุณค่าตามหลักโภชนาการแทน และส่งเสริมมาตรฐานการผลิตออร์แกนิกที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ลูกจ้าง และเกษตรกรรายย่อยมากกว่าอุตสาหกรรมอาหาร

ถ้าเราเชื่อว่าอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการนั้นมีคุณค่ามากกว่าอาหารคุณภาพ ‘แย่’ เราก็จะต้องหาวิธีทําให้อาหารประเภทแรกมีราคาทัดเทียมหรือถูกกว่าอาหารประเภท หลังให้ได้ เพราะตราบใดที่ ‘ราคา’ ยังไม่สะเทือน ‘คุณค่า’ ที่เราเชื่อมั่นและ ‘ต้นทุนที่แท้จริง’ ที่ธุรกิจเป็นผูก่อ รวมทั้งต้นทุนด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อม

ระบบทุนนิยมก็จะยังห่างไกลจากระบบที่มันควรจะเป็น

Contributors

วรัญชิต แสนใจวุฒิ

หนุ่มเชียงใหม่ จบปริญญาตรีสาขาถ่ายภาพ ที่พยายามแบ่งเวลาไปทำอย่างอื่นนอกจากการถ่ายภาพ และในขณะเดียวกันก็ชอบออกไปดูพระอาทิตย์ขึ้นตอนเช้าวันเสาร์ ส่วนแผนการในวันพรุ่งนี้ ยังไม่รู้ เพราะเท่าที่รู้มันไม่เคยตรง